ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย
ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ
หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท
คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์
(application software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์
จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น
ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง
ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง
ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย
เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร
มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน
การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น
ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ
เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก
ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ
อีกมากมาย
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
|
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์
เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์
ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว
คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม
เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบ
คอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้
และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว
เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม
จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า
ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข
0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์
รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร
เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย
บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์
(interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง
แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ
ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส
(Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน
(Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล
ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน
ได้
สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้
(Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย
ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้
สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้
(ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ
มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น
เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็วN และ WAN
ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้
ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่
การเชื่อมต่อเครือข่ายให้เป็นประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น อุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ
นอกจากนี้ยังทำงานเอกภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่ใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อโยงกันทั่วโลก
ผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก ตัวอย่างประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน
ได้แก่ การสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์การศึกษาแบบ E-Learning เป็นต้น
ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ
เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน
ขณะที่มีการนำระบบนี้มาใช้ในงานวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์
ทำให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ในเพียงไม่กี่ปี
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันสามารถแยกได้
3 ประเภท ได้แก่
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (LAM หรือ Local Area
Network) เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเดียวกัน
และองค์กรที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือไกล้กัน
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง (MAN หรือ Metropolitan
Area Network)
เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ที่อยู่ในเขตเมืองเดียวกัน
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN หรือ Wide Area Network)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันในระยะไกล
ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกัน
จะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ส่วนของฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพและส่วนของซอฟแวร์หรือส่วนการจัดการ
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง
หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายรูปแบบรวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์ด้วย
ประวัติของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน
เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี
เริ่มจากการสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน จนกลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักย์ภาพสูงที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันในขณะนี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้ครบถ้วนสนอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนี้
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง
ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทีเราเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้
เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีร์บอร์ด และเมาท์ เป็นต้น
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีคอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด
เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ
4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (People)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์
(Hardware) หมายถึง
ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
(Input-Output Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
(Storage Device)
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เปรียบเสมือนสมอง
ซีพียู
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารสนเทศ
ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาความเร็วของการทำงาน
การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ
ความเร็วของซีพียูของอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา
หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้
2 ประเภทคือ
หน่วยความจำแบบ “แรม” และหน่วยความจำแบบ”รอม”
1.
หน่วยความจำแบบ
“แรม” คือ ( RAM=Random Access Memory) หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล
หรือ แฟ้มข้อมูล จะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงานเราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้
2.
หน่วยความจำแบบ
“รอม” (ROM=ReadOnlyMemory)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร
ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว
เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า ไม่ลบเลือน
ความหมาย
หมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
หมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
1. จานอ่อน (floppy disk) มีลักษณะอ่อน
บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก
จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร)
2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง
มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5
นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร
ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า
3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า
ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ
(drive) แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย
ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร
เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย
แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้ นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว
ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ (mainframe)
ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก (disk pack) ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง,
จานแสงหรือจานเลเซอร์ (optical or laser disk), จานวีดิทัศน์ (vedio disk), จานบันทึกอัดแน่น (compact
disk) ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น
เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น
เมกะไบต์ megabyteความหมาย
ใช้ตัวย่อว่า M หรือบางทีก็ใช้ meg หมายถึง จำนวน 1 ล้านไบต์โดยประมาณ จริง ๆ แล้ว 1 เมกะไบต์จะเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ คิดคร่าว ๆ เท่ากับ 1ล้านไบต์ (กฎหมายของอเมริกามีกำหนดไว้ชัดเจนว่า 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1 ล้านไบต์เท่านั้น)
กิกะไบต์ gigabyte ความหมาย
ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ
ความหมาย พิกเซล Pixel มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) หมายถึงหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับจุดสีของภาพ 1 จุด หลากหลายสีที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง และที่เราสามารถรับรู้ได้
พิกเซลนั้นมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์มาก
เพราะทุกๆส่วนของกราฟฟิก อาทิเช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเกิดจากพิกเซลทั้งสิ้น
พิกเซลหนึ่งๆ อาจมีขนาด ความเข้ม สี แตกต่างกันได้
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
หมายถึง เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
ความสำคัญทางด้านการศึกษา
ด้านการศึกษา
อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางราชการ
ข้อมูลทางด้านบันเทิง ด้านการแพทย์
และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
จะทำหน้าที่เปรียบเทียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆ
เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
ประโยชน์อินเทอร์เน็ต
ในการใช้อินเตอร์เน็ตนั่นก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านด้วยกันสามารถสรุปที่สำคัญได้ดังนี้
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลก
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง
เล่นเกมส์ เป็นต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรงได้แก่
อินทราเน็ต(Intranet)
เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์
ขององค์กร
คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกันหรือกระจายกับอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้
เอ็กซ์ทราเน็ต(Extranet) เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย
อินเทอร์เน็ต(Intranet) ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นเจ้าของเครือข่ายได้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ
ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้
ความหมายของ Digital library
Digital library หมายถึง
การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์
ขณะที่ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว
เว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
เว็บไซต์การศึกษามีจำนวนมากทั้งของสถานบันอุดมศึกษาและของโรงเรียนต่างๆ
เว็บไซต์ที่อาจถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ชุมทางประเภทการศึกษา ได้แก่
1.
เว็บไซต์โครงการ
Schoollnet@1509 เป็นเว็บไซต์ชุมทางสำหรับเว็บไซต์ต่างที่เป็นสมาชิกโครงการSchoollnet
และที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึดษา
2.
เว็บไซต์ Learn Online ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทย
เป็นเว็บไซต์สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเน้นสาขาวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษาและมีธรรมเนียบเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน